บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

Autologous Conditioned Plasma: The Current Trends

รูปภาพ
โรคเบาหวาน (DM) กับผลกระทบต่อความผิดปกติของเท้าและข้อเท้า (foot and ankle problems) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ ทางออร์โธปิดิกส์เท้าและข้อเท้า (orthopaedic foot and ankle surgery) จะพบปัญหาต่างๆหลายกรณี เช่น การติดเชื้อของแผลที่เท้าและมีการลุกลาม (infected ulcer), การติดเชื้อของแผลผ่าตัดเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน (surgical site infection), การทำลายข้อเท้าจากเหตุเกี่ยวข้องกับเบาหวาน (Charcot's arthropathy) เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวแก้ไขได้ด้วยความยากลำบาก การป้องกันปัญหาดังกล่าว (guideline) คือ ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (premeal blood sugar: ตอนที่เจาะตรวจก่อนทานอาหาร) มีค่า = 100-140 mg/dl และค่า Hb A1c < 6.5-7% อย่างสม่ำเสมอ

PPT – Foot and Ankle Examination PowerPoint presentation

PPT – Foot and Ankle Examination PowerPoint presentation | free to download

งานประชุมประจำปีอนุสาขาการผ่าตัดเท้าและข้อเท้าแห่งประเทศไทย (THOFAS)2557

งานประชุมประจำปี (Annual meeting of Foot and Ankle surgery) ของ THOFAS 2557 จัดงานวันที่ 23 มิ.ย.2557 ที่อาคารคุณากร ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต Highlights - Forefoot problems: hallux valgus, metatarsalgia - Midfoot problems: Lisfranc injury - Hindfoot problems: flatfoot, calcaneal fracture, minimally invasive surgery of Achilles tendon - Ankle problems: lateral ankle instability, ankle osteoarthritis, ankle replacement - Others: how to interprete MRI of foot and ankle ผู้สนใจเข้าร่วมประชุม ติดต่อได้ที่คุณบุษบา 02-926-9775

ชีวกลศาสตร์ของเท้าและข้อเท้า (Biomechanics of foot and ankle)

ชีวกลศาสตร์ของเท้าและข้อเท้า (Biomechanics of foot and ankle) [บทความสั้นโดย นพ.ชญานิน] เท้ามีความเชื่อมโยงกับส่วนปลายของขาผ่านข้อต่อที่สำคัญ ได้แก่ ข้อเท้า (ankle joint) และ ข้อส่วนใต้ข้อเท้า (subtalar joint) ทั้ง 2 ข้อทำงานสอดประสานกันให้เท้าสามารถเคลื่อนไหวได้หลายพิสัยและมีหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย ได้แก่ การกระดกข้อเท้าขึ้น-ลง (dorsiflexion-plantarflexion: main motion ของ ankle), การปัดเท้าเข้าใน-ออกนอก (inversion-eversion: main motion ของ subtalar joint) แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจในการทำงานของ ankle-subtalar joint complex เป็นอย่างดีเพื่อทำการรักษาผุ้ป่วยได้อย่างถุกต้องตรงกับปัญหาของผู้ป่วยที่มี เช่น การวินิจฉัยปัญหาความเจ็บปวดของ ankle และ subtalar joint ต้องพยายามทำการแยกโรคว่า ผู้ป่วยมีปัญหาหลักจากจุดใด เป็นต้น

โรคข้อเท้าเสื่อม (ankle osteoarthritis)

โรคข้อเท้าเสื่อม (บทความสั้นโดย นพ.ชญานิน, ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้าเท้าและข้อเท้า) โรคข้อเท้าเสื่อมหรือ ankle osteoarthritis เกิดจาก การเสื่อมและเสียหายของผิวข้อเท้าแล้วทำให้มีอาการต่างๆตามมา ได้แก่ ปวด บวม อุ่น บริเวณข้อเท้าและเดินลำบากตามมา สาเหตุหลักที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ อุบัติเหตุของข้อเท้ามาก่อน กระดูกข้อเท้าหักมาก่อน ข้อเท้าแพลงมาก่อน นอกจากนี้ พบได้จากข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบเสื่อมแบบไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น การรักษาในปัจจุบัน สามารถเริ่มต้นด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่การทานยาบรรเทาอาการ การปรับชีวิตที่เกี่ยวกับการใช้งานข้อเท้า ไปจนถึงการผ่าตัดที่ซับซ้อน โดยการผ่าตัดนั้นควรกระทำโดยศัลยแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนเฉพาะทางด้านเท้าและข้อเท้าเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการรักษา และอาจลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา